ประกันคุ้มครองบุคคลสำคัญ Keyman
ประกันคุ้มครองบุคคลสำคัญ Keyman
รู้จัก "ประกัน Keyman" ตัวช่วยจัดการความเสี่ยง และภาษีธุรกิจ
- คนที่เป็นหัวเรือหลักของธุรกิจส่วนใหญ่มักเป็นกรรมการ ที่ถูกเรียกว่า ประกันคุ้มครองบุคคลสำคัญขององค์กร (KEYMAN) ซึ่งหากเกิดเหตุไม่คาดฝันย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ดังนั้นการมีประกันคุ้มครองบุคคลสำคัญขององค์กร (KEYMAN) จะช่วยลดผลกระทบจากความเสี่ยงตรงจุดนี้
- บุคคลที่เป็นบุคคลสำคัญขององค์กร (KEYMAN) จะได้ประโยชน์หลักในเรื่องความคุ้มครอง ส่วนบริษัทสามารถนำค่าใช้จ่ายนี้ไปลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ โดยต้องเป็นค่าเบี้ยประกันของกรมธรรม์ที่มีความคุ้มครอง 10 ปี ขึ้นไป
- เงินชดเชยจากกรมธรรม์ประกันชีวิตนี้สามารถช่วยธุรกิจให้อยู่รอดได้โดยสามารถนำไปต่อยอดทางธุรกิจ ขยายกิจการ ชำระหนี้ สต็อกสินค้าเพื่อเตรียมการขาย หรือเป็นมรดกให้ลูกหลานของบุคลลสำคัญขององค์กร (KEYMAN) เป็นต้น
ธุรกิจเดินหน้าได้ด้วยผู้นำที่ต้องรับผิดชอบตั้งแต่การหาลูกค้า จัดการธุรกิจและพนักงานภายใน รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งกิจการบางแห่งอาจเดินหน้าได้ด้วยผู้นำที่เป็นกรรมการเพียงไม่กี่คน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายกิจการมักมีความเสี่ยงหนึ่งที่สำคัญคือการเกิดเหตุไม่คาดฝันกับผู้นำของกิจการ หรือบุคคลสำคัญ ที่เรียกกันว่า KEYMAN
KEYMAN คือใคร?
โดยทั่วไปธุรกิจมักเป็นแบบเจ้าของคนเดียว หรือมีหุ้นส่วนเป็นคนใกล้ชิด เช่น คนในครอบครัวที่ร่วมกันสืบทอดกิจการมาจากคนรุ่นก่อน เพื่อนสนิทที่ร่วมก่อตั้งธุรกิจมาด้วยกัน โดยลักษณะของ KEYMAN คือบุคคลที่เป็นหัวเรือหลักของธุรกิจ หากขาดคนๆ นี้ไปธุรกิจอาจหยุดชะงัก ไม่มีใครสามารถตัดสินใจแทนได้ในระหว่างที่ KEYMAN ไม่อยู่ หรือแม้แต่อาจเลวร้ายไปถึงขึ้นปิดกิจการ ซึ่งโดยปกติ KEYMAN มักมีชื่อเป็นกรรมการบริษัท
ดังนั้นหากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับ บุคคลสำคัญขององค์กร (KEYMAN) ย่อมส่งผลกระทบต่อกิจการ แต่เราก็สามารถจัดการความเสี่ยงเพื่อบรรเทาผลกระทบนี้ลงได้ โดยสามารถทำได้ตั้งแต่การสร้างมือรองหรือทายาทรุ่นต่อไป ให้พร้อมรับช่วงธุรกิจต่อได้ทันที แต่หากประเมินแล้วมือรองยังรับช่วงต่อได้ไม่เต็มที่ เช่น ความสัมพันธ์ของคู่ค้ายังผูกติดกับ KEYMAN อยู่ หรือการหาแหล่งเงินทุน เช่น การขอสินเชื่อกับธนาคาร ยังต้องอาศัยประสบการณ์และความน่าเชื่อถือของ KEYMAN รวมไปถึงหาก KEYMAN จากไปทำให้รายได้ธุรกิจลดลงจนส่งผลกระทบต่อแหล่งรายได้ของผู้ถือหุ้นหรือสมาชิกในครอบครัวของกลุ่มเจ้าของธุรกิจ (เช่น ธุรกิจกงสี) การมีประกัน KEYMAN เพื่อมีเงินก้อนให้กับธุรกิจหรือสมาชิกครอบครัวของ KEYMAN ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
ประกัน KEYMAN มีประโยชน์อย่างไร?
ประกัน KEYMAN คือ ประกันชีวิต ที่บริษัทหรือกิจการเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันโดยมี KEYMAN หรือบุคคลสำคัญของกิจการเป็นผู้เอาประกัน และการทำประกันที่ว่าต้องทำให้กับทุกคนที่มีชื่อเป็นกรรมการบริษัท โดยผู้รับผลประโยชน์กรณี KEYMAN เสียชีวิต อาจเป็นสมาชิกของคนในครอบครัว KEYMAN หรือบริษัทที่เป็นผู้ชำระเบี้ยก็ได้
- หลักประกันเงินก้อนให้กับธุรกิจหรือคนในครอบครัว
เงินเอาประกันที่ผู้รับผลประโยชน์ได้รับหากผู้เอาประกันเสียชีวิต จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความสูญเสียนั้นได้ เช่น หากผู้รับผลประโยชน์คือบริษัท เงินเอาประกันนั้นจะถูกนำไปใช้ในการดำเนินกิจการระหว่างที่รายได้อาจสะดุดในช่วงที่ขาด KEYMAN ท่านนั้นไป หรือหากผู้รับผลประโยชน์คือสมาชิกในครอบครัวของ KEYMAN เงินเอาประกันนั้นจะถูกนำไปเป็นค่าใช้จ่ายของครอบครัวเพื่อทดแทนรายได้ที่ลดหรือหายไปหลังจากที่ KEYMAN จากไป โดยประกันที่เน้นหลักประกันที่ว่ามักเป็นประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองตลอดชีพ - แรงจูงใจและสวัสดิการ ให้กับบุคคลสำคัญ
ประกัน KEYMAN หากมีเงินคืนระหว่างสัญญาหรือเงินครบสัญญาจากประกัน เงินที่ KEYMAN ได้รับนี้จะได้การยกเว้นภาษี จึงเสมือนเป็นสวัสดิการเงินเก็บให้กับ KEYMAN จากบริษัท เช่น ประกันชีวิตเพื่อสะสมทรัพย์ ที่เสมือนการสะสมเงินก้อนให้ KEYMAN เมื่อประกันครบสัญญา และประกันชีวิตเพื่อบำนาญ ที่เสมือนสวัสดิการเงินบำนาญหลังเกษียณจากบริษัทผ่านบริษัทประกันชีวิต - ทางเลือกบริหารภาษี
เบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายไปจะถูกคิดเป็นค่าใช้จ่ายกิจการทำให้กำไรสุทธิและภาษีนิติบุคคลของกิจการลดลง ส่วน KEYMAN หรือกรรมการบริษัทที่เป็นผู้เอาประกันค่าเบี้ยประกันนั้นจะถูกรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย ดังนั้นสำหรับบริษัทที่ KEYMAN เป็นเจ้าของกิจการ อาจพิจารณาเลือกเพิ่มค่าใช้จ่ายบริษัทในรูปแบบค่าเบี้ยประกันเพื่อลดกำไรสุทธิที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตรา 20% ไปเป็นรายได้กรรมการ ซึ่งหากรวมกับรายได้อื่นแล้วกรรมการมีรายได้ไม่เกินปีละ 910,000 บาท ก็จะยังมีฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ถึง 20% ซึ่งต่ำกว่าอัตราภาษีนิติบุคคล
อย่างไรก็ตาม ประกัน KEYMAN ต้องเป็นประกันที่มีความคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และบริษัทต้องทำให้กับกรรมการทุกคนไม่สามารถเลือกทำให้คนใดคนหนึ่งได้ อีกทั้งเบี้ยประกัน KEYMAN ที่เหมาะสม บริษัทต้องจ่ายต้องเหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์ยอมรับของสรรพากร
ประกันส่วนตัว VS ประกัน KEYMAN
สำหรับประกันส่วนตัวที่กรรมการมีอยู่ และประกัน KEYMAN ที่บริษัทจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ แม้เป็นประกันชีวิตเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสรุปได้จากตารางด้านล่างนี้
รายการ | ประกันส่วนตัว | ประกัน KEYMAN |
ลดหย่อนภาษี | ภาษีบุคคลธรรมดา | ภาษีนิติบุคคลและภาษีบุคคลธรรมดา |
รายได้กรรมการ | - | เท่ากับค่าเบี้ย |
เบี้ยประกัน | จ่ายเอง | บริษัทจ่าย |
ผู้รับประโยชน์ | มักเป็นทายาทและญาติสนิท | ทายาทและญาติสนิท หรือบริษัท |
ผู้เอาประกันภัย | ตนเอง (ผู้ซื้อ) | ตนเอง (กรรมการ) |
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจตั้งคำถามว่าสรุปแล้วควรทำประกัน KEYMAN หรือไม่ และเมื่อทำแล้วจะคุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับหรือไม่ คำตอบของคำถามนี้อยู่ที่ (1) กิจการจะได้รับผลกระทบขนาดไหนหากบุคคลซึ่งเป็น KEYMAN จากไปอย่างกะทันหัน เทียบกับค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายและสามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายบริษ้ทฯได้ หรือ (2) การแสดงความห่วงใยต่อครอบครัว KEYMAN ด้วยการทำให้ประกันให้กับกรรมการบริษัท และให้ญาติเป็นผู้รับผลประโยชน์เงินก้อนโตจากประกันนั้น ด้วยค่าเบี้ยรายปีเพียงไม่กี่บาท ที่สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้เช่นกัน ดังนั้นบริษัทควรจะทำประกัน ให้บุคลลสำคัญของ (KEYMAN) หรือไม่นั้น จึงอยู่ที่คำตอบของสองคำถามที่ได้กล่าวไป
สนใจปรึกษาประกันKEYMAN
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 099-0144699 คุณออน
ออนคอนเน็ค กรุ๊ป เรามีครบจบที่เดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสรรพากร /อ้างอิง ข้อหารือสรรพากร เลขที่หนังสือ : กค0811/408 ,ข้อกฎหมาย : มาตรา 42 (3), มาตรา 65 ตรี (3),(6),(13)