แชร์

ประกันอัคคีภัย สำหรับบ้าน คอนโด อยู่อาศัย

154 ผู้เข้าชม

ประกันอัคคีภัย สำหรับบ้าน คอนโด อยู่อาศัย
"ทำประกันอัคคีภัย" ไม่ว่าเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างไฟไหม้ น้ำท่วม หรือเจอภัยธรรมชาติอื่น ๆ ก็ไม่หวั่น วางแผนคุ้มครองให้เรื่องหนักกลายเป็นเบา ด้วยประกันอัคคีภัยบ้าน คอนโด และทรัพย์สิน เพราะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้คุ้มครองบ้านหรือคอนโดแสนรักของคุณได้เป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้ทรัพย์สินที่คุณเก็บหอมรอมริบ หรือของสะสมที่คุณสะสมมาทั้งชีวิต สูญเปล่าไปกับเหตุที่ไม่คาดฝัน 

เบี้ยประกันอัคคีภัย เหมาะกับใคร ?

เจ้าของบ้าน เจ้าของห้อง  ยิ่งใครที่อยู่ในหมู่บ้าน ทาวเฮาส์ ตึกแถวหรืออยู่คอนโดยิ่งต้องทำ ! เพราะถ้าเกิดไฟไหม้แล้วเราไม่ได้ทำประกันจะยุ่งยากมาก นอกจากทรัพย์สินของเราจะเสียหายหมดตัวแล้ว ถ้าไฟไหม้แล้วไฟลามไปบ้านคนอื่นอีก รับรองเลยว่าเดือนร้อนหนักเป็นหลายเท่า บ้านตัวเองก็วอด แถมยังต้องชดใช้บ้านคนอื่น จะเอาเงินมาจากไหน

ในส่วนของคอนโดฯ หลายๆ คนมีข้อสงสัยว่ามันจะซ้ำซ้อนกับประกันของคอนโดฯ หรือไม่ คำตอบคือไม่ เนื่องจากประกันอัคคีภัยคอนโดฯ ที่นิติฯ เป็นคนทำ(แต่เรียกเก็บจากเจ้าของห้อง)นั้น เป็นการทำประกันภัยเฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของส่วนกลางเท่านั้น ฉะนั้นจึงไม่ถือว่าซ้ำซ้อน เพราะถ้าเราทำเราก็ทำเฉพาะห้องเราหรือทรัพย์สินส่วนตัวของเรา

ควรซื้อทุนประกันอัคคีภัยเท่าไหร่?

การทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยควรทำให้ครอบคลุมมูลค่าบ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน แต่ไม่ควรทำประกันเกินมูลค่าบ้านและทรัพย์สินภายในบ้าน เพราะหลักการจ่ายค่าสินไหมทดแทน จะจ่ายให้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินมูลค่าของทรัพย์สินที่ได้ทำประกันไว้ สมมติว่า ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่า 3,000,000 บาท แบ่งเป็นที่ดิน 2,000,000 บาท และบ้าน 1,000,000 บาท ดังนั้น ทุนประกันอัคคีภัยที่ครอบคลุมมูลค่าบ้าน เท่ากับ 1,000,000 บาท แต่ความคุ้มครองนี้ยังไม่ครอบคลุมกับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน หากเกิดความเสียหายเฉพาะเฟอร์นิเจอร์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ ซึ่งผู้เอาประกันสามารถแจ้งให้คุ้มครองเพิ่มในส่วนของเฟอร์นิเจอร์ได้ เช่น

  • ทุนประกันบ้าน 1,000,000 บาท
  • ทุนประกันเฟอร์นิเจอร์ 700,000 บาท
  • รวม 1,700,000 บาท

ไม่ควรทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยต่ำกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สิน  เป็นข้อยกเว้นเฉพาะประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยเท่านั้น จากตัวอย่างข้างต้น หากผู้เอาประกันไม่ประสงค์ทำเต็มมูลค่าทรัพย์สิน แต่ควรทำทุนประกันไม่ต่ำกว่า 700,000 บาท หรือ 70% ตามหลักเกณฑ์การประกันอัคคีภัย เพราะหากเกิดอัคคีภัยเสียหายทั้งหมดประกันจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามทุนประกันที่ได้ทำไว้คือ 700,000 บาท แต่หากผู้เอาประกันทำประกันอัคคีภัยทุนประกันต่ำกว่า 70% ของมูลค่าทรัพย์สิน เช่น ต้องการทุนประกันเพียง 600,000 บาท คิดเป็น 60% ต่อมาเกิดอัคคีภัยเสียหายบางส่วน ประเมินความเสียหาย 300,000 บาท ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนเพียง 180,000 บาท (300,000 X 60%) ตามหลักเกณฑ์ถือว่าผู้เอาประกันภัยรับความเสี่ยงบางส่วนไว้เองซื้อความ

ประกันอัคคีภัยสำหรับธุรกิจรายย่อย (SME)

ความคุ้มครอง      

  • คุ้มครองความเสียหายต่อตัวอาคาร เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ สต๊อกสินค้า และเครื่องใช้ต่าง ๆ สต๊อกสินค้า และเครื่องจักร

    อันมีสาเหตุมาจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยจากการการระเบิด ภัยจากควัน ภัยจากลมพายุ ภัยจากยวดยานพาหนะ ภัยทางอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ

    (ไม่รวมน้ำท่วม) ภัยจากแผ่นดินไหวการจลาจลและการนัดหยุดงาน

  • ภัยโจรกรรม การชิงทรัพย์ การปล้นทรัพย์ และการลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอย
  • ความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เกิดจากการลัดวงจรแล้วทำให้เกิดไฟไหม้
  • ความเสียหายต่อกระจกที่เป็นฝาผนัง และกระจกประตู หน้าต่าง ซึ่งแตกเนื่องจากอุบัติเหตุ
  • เงินค่าชดเชยค่าเช่า การสูญเสียค่าเช่า ตลอดจนค่าเช่าสถานที่ทำธุรกิจใหม่เป็นการชั่วคราวแทนสถานที่เดิม ซึ่งได้รับความเสียหายจากภัยที่คุ้มครอง
  • ชดเชยการสุญเสียรายได้จากการประกอบธุรกิจที่ต้องหยุดชะงักไปในช่วงเวลาหนึ่ง
  • เงินชดเชยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย คู่สมรส บุตร หรือพนักงาน / ลูกจ้าง เสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร ภายในสถานที่ประกอบการธุรกิจจากภัยที่คุ้มครอง
  • ค่าวิชาชีพหรือค่าธรรมเนียม สำหรับสถาปนิก วิศวกรที่ปรึกษา  ที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อออกแบบ คำนวณ ประเมินราคา ฯลฯ ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้น
  • ค่าใช้จ่ายในการดับเพลิง
  • ค่าขนย้ายซากทรัพย์สินเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น
  • การสูญเสียเงินสด ที่เก็บอยู่ในสถานที่ประกอบการ (เฉพาะเวลาทำการ) อันเนื่องมาจากการถูกชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์
  • ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกภายในสถานที่ประกอบการ ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุทำให้ร่างกาย ได้รับบาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย จากความประมาทเลินเล่อในการดูแลอาคารสถานที่หรือจากการดำเนินธุรกิจของผู้เอาประกันภัย รวมถึงความรับผิดจากการเกิดอัคคีภัยหรือการระเบิดด้วย
  • คุ้มครองความรับผิดชอบของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย
  • ค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุคคลภายนอก ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ภายในสถานที่ประกอบการ (โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นเป็นความรับผิดชอบตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัยหรือไม่)


สนใจทำประกันสุขภาพ   
ซื้อประกันมะเร็งออนไลน์ได้ 24 ชม.  คลิก
ออนคอนเน็ค กรุ๊ป เรามีครบจบที่เดียว


บทความที่เกี่ยวข้อง
เจ้าของรถเก่าต้องรู้ รถกี่ปีต้องตรวจสภาพ
หรือไม่ ? รถที่ใช้มานานหลาย ๆ ปี ต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถยนต์ด้วยนะ หลายคนอาจจะคิดว่า แค่ดูแลไม่ให้ไปเฉี่ยวชนจนเสียหาย เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเป็นประจำ ก็น่าจะพอแล้ว
ภาพรวม และ เทรนประกันปี 2567
จากการที่ธุรกิจประกันได้ผ่านความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจประกันทั้งระบบปรับตัวไปจากเดิมค่อนข้างมาก ในส่วนผลิตภัณฑ์ประกัน
พรบ. รถยนต์ ทำไมต้องต่อทุกปี คุ้มครองอะไรบ้าง
พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ประกัน พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้เจ้าของรถ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy